วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วงจรของความอยากลอง

เหตุใดวงจรของความอยากรู้อยากลองจึงยังคงมีต่อไปไม่สิ้นสุด

สมมติมีคนบอกคุณว่า ก๋วยเตี๋ยวร้านนี้รสแย่มาก
แต่ทุกวันที่คุณเดินผ่าน
ปรากฎว่า คนนั่งกินกันเต็มร้านเลย
คุณจะอยากลองชิม ให้มันรู้กันไปไหมครับ




ยิ่งมีการรณรงค์ว่าบุหรี่มีอันตราย ไม่น่าสูบมากเท่าไร
แต่กลับมีคนสูบบุหรี่มากขึ้น
แถมเวลาต่อแถวจ่ายเงินที่ 7-11
ก็เห็นหยิบซองที่มีรูปน่ากลัวกันหน้าตาเฉย
ยิ่งทำให้เด็ก ๆ เกิดความขัดแย้งในสมองมากขึ้นเรื่อย ๆ
เพราะ เขาจะชักคะเย่อในสมองว่า
เอ...ก็ไหนเขาว่ากันว่าบุหรี่มันไม่ดี
แต่ทำไมคนก็สูบเอา ๆ
แสดงว่ามันต้องมีอะไรดี ๆ แน่ ๆ แหง ๆ ต้องลองซะหน่อยแล้ว

ยิ่งคนที่ทำงานเกี่ยวกับการเงินการลงทุน
ซึ่งต้องใช้เหตุผล และคิดคำณวนความคุ้มค่าในการใช้เงิน
กลับติดบุหรี่ ซึ่งเป็นการจ่ายเงินเพื่อให้ตนเองเจ็บป่วยในอนาคต
แสดงว่าบุหรี่มันต้องเลิศมากเลยนะเนี่ย เขาถึงยอมทำได้




ยิ่งรู้ว่าบุหรี่ไม่ดี แต่ก็ยิ่งรู้ว่าคนสูบกันเยอะแยะ
วงจรของความอยากรู้อยากลองจึงยังคงมีต่อไปไม่สิ้นสุด


ในทางจิตวิทยา 
คำว่า "นิสัยเคยชิน" กับ "การเสพย์ติด" นั้นต่างกันมาก
ผมยังสงสัยอยู่ว่า ที่ สสส. โฆษณาแคมเปญ
"บุหรี่ = ยาเสพย์ติด" นั้น เหตุใดคนจึงไม่เข้าใจ
เพราะจากประสบการณ์บำบัดของผมพบว่า
คนจำนวนมากคิดว่า การสูบบุหรี่คือความเคยชิน
การอธิบายให้ 'ว่าที่นักสูบหน้าใหม่' เข้าใจ
จึงควรเน้นย้ำว่า บุหรี่คือยาเสพย์ติด
และคนที่ติดบุหรี่ เขาก็ไม่ได้สูบเพราะมันดีอะไร
แต่เป็นเพราะเขาติดยาเสพย์ติดเท่านั้นเอง

กุลพงษ์ 
kullapongcoaching@yandex.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น